วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2559

# ต้นทุนชีวิต..เราไม่เท่ากัน


อย่าเอาคำว่า "คนเรามีต้นทุนชีวิตไม่เท่ากัน" มาเป็นข้ออ้างหยุดยั้งความฝันของคุณ ถึงแม้เกิดมาเราอาจจะมีต้นทุนชีวิตที่ไม่เท่ากัน แต่สิ่งที่เรามีเหมือนกันคือ.. เวลา อย่าปล่อยให้มันผ่านไปอย่างไร้ค่า ฝ่าฟันไปถึงจุดหมายให้ได้..รางวัลแห่งความสำเร็จ หอมหวานเสมอสำหรับผู้ไม่ยอมแพ้

#1

น้องวิทย์..เด็ก กศน. ก็ติดหมอได้ 
วรวิทย์ คงบางปอ นิสิตแพทย์ วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์พระมงกุฎเกล้า






#2

ยิ่งพยายาม ยิ่งสำเร็จ "มินทร์"นักร้องหนุ่ม เรียนอินเตอร์ สอบเทียบม.6  ติดแพทย์ 
มินทร์ ยงสุวิมล กับการติดแพทย์ศิริราชในวัย 16  ปี พร้อมคะแนน เลข 90+ ในวิชาสามัญและโอเนต




#3

"คนไม่ยอมแพ้ย่อมสำเร็จ! วิน ติด วิศวะ จุฬา แม้สายตามองไม่เห็น"
ปวินทร์ เปี่ยมไทย นิสิตวิศวะฯ บกพร่องทางสายตาคนแรกของไทย กับ GAT 285 และ PAT3 190





คนดังระดับโลกที่เรียนไม่จบก็ประสปความสำเร็จได้
#4
เฮนรีฟอร์ด (Henry Ford) ผู้ก่อตั้ง Ford Motor

เขาออกจากบ้านตอนอายุ 16 ปีเพื่อเป็นช่างยนต์ ต่อมาภายหลังก่อตั้ง บริษัท ฟอร์ต มอเตอร์ ดำเนินอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ ซึ่งรถที่ประสปความสำเร็จครั้งแรกคือรุ่น Ford Model T ผลกำไรทำให้ขยายกิจการและริเริ่มวางสายการผลิตแบบอัตโนมัติ



#5

บิลเกตส์ (Bill Gates): ผู้ก่อตั้ง ไมโครซอฟท์

ติดอันดับมหาเศรษฐีที่รวยที่สุดในโลกปี 1995-2006 ช่วงวัยรุ่นหยุดเรียนเพราะมุ่งมั่นที่จะตั้งบริษัทผลิตซอฟท์แวร์ ไมโครซอฟท์ รวยล้นฟ้าแล้วยังใจบุญ เพราะครอบครัวบิลก่อตั้งมูลนิธิ บิล & มาลิดาเกตส์ คอยช่วยเหลือด้านการศึกษาและสุขภาพแก่คนทั้งโลก


#6

สตีฟจ๊อปส์ (Steve Jobs): ผู้ก่อตั้งและสร้างความยิ่งใหญ่ให้ Apple

เรียนมหาวิทยาลัยได้เทอมเดียว ก็ไปทำงานให้กับบริษัท อาตาริ ก่อนที่จะควบรวมเป็น บริษัท แอปเปิ้ล คอมพิวเตอร์ แต่ชื่อมันยาว ต่อมาเลยตัดเหลือเพียง แอปเปิ้ล แบรนด์ล้ำๆ ที่ทำให้คนทั้งโลกคลั่ง กับผลงานล่าสุดอย่าง iPad และ iPhone โดยที่ครั้งหนึ่ง เขาเคยเป็น CEO ให้กับ Pixar ก่อนที่จะควบรวมกับ วอลท์ ดีสนีย์

#7

ไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ : เจ้าของอาณาจักรสวนสยาม
นักธุรกิจรุ่นใหญ่ จบการศึกษาเพียงแค่ ป.4 ผู้บุกเบิกธุรกิจการพัฒนาที่ดิน นาม ช.อมรพันธุ์ จนประสบความสำเร็จ ผู้สรรค์สร้างอาณาจักรสวนสนุกที่ได้มาตรฐานแห่งที่สองของไทยนาม สวนสยาม กระทั้งกลายเป็นสวนสนุกที่เชิตหน้าชูตาอันดับหนึ่งของประเทศไทยและยังเติบใหญ่จนมีชื่อระบือไกลไปยังนานาประเทศ โดยแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมจำนวนมากกว่า 2 ล้านคน

# 8

อิทธิพัทธ์ กุลพงษ์วณิชย์ : ผู้ก่อตั้ง บริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จำกัด
นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จด้วยวัยเพียง 19 ปี (ธุรกิจของเขามียอดจำหน่ายกว่า 1500 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2553) เคยศึกษาปริญญาตรีคณะบริหารธุรกิจที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แต่ไม่สำเร็จการศึกษา ชีวิตของเขาถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง ท็อป ซีเคร็ต วัยรุ่นพันล้าน ในพ.ศ. 2554 ตอนนี้เขาก็ได้ลงเรียนอีกครั้งที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งแม้ว่าเขาจะเชื่อว่า ประสบการณ์ไม่ได้มาจากทฤษฎีในห้องเรียน แต่มันมาจากการลงมือปฏิบัติก็ตาม แต่ที่เขาเรียนนั่นก็เพื่ออยากจะให้พ่อแม่ได้ภูมิใจ และอยากถ่ายรูปรับปริญญาร่วมกับครอบครัวเพียงเท่านั้น

#9

ไพโรจน์ ร้อยแก้ว: จากผู้ค้าของเก่า สู่เจ้าของ "ตลาดนัดรถไฟ" 

แหล่งนักชอปสไตล์วินเทจ
ด้วยบุคคลิกที่เย่อหยิ่งไม่ยอมอ่อนให้ใคร บวกกับหน้าตาที่ดูไม่เป็นมิตรของผู้ชายที่ชื่อว่า "ไพโรจน์ ร้อยแก้ว" เจ้าของอาณาจักรตลาดนัดรถไฟ แหล่งซื้อหาสินค้ายามค่ำคืน ที่เกิดจากการรวมตัวของผู้ค้าของเก่าที่ตลาดนัดรถไฟจตุจักร ก่อนที่จะถูกขอพื้นที่คืนเพื่อสร้างสถานีรถไฟฟ้า


#10

"ต้นทุนชีวิต..เราไม่เท่ากัน" 

บทความข้างล่าง storylog เขียนได้ดีจริงๆ ชอบ จึงขอนำมาแบ่งปันนะครับ
111 : เมื่อเพื่อนคนหนึ่งบอกว่า "ต้นทุนชีวิตเราไม่เท่ากัน" ผมเลยตอบกลับไปว่า...
ต้นทุนชีวิตคนเราไม่เท่ากัน...
มิตรสหายท่านหนึ่งกล่าวไว้ในวันฝนพรำ

ผมเลยตอบกลับไปด้วยคำถามว่า...
แล้วมันมีอะไรที่คนเราเท่ากันบ้าง?

มิตรสหายท่านเดิมหยุดนิ่งไปสักพัก
แล้วตอบกลับมาสั้นๆว่า "เวลา"

-----
(1)
ถ้าเรื่องนี้เป็นบทความให้กำลังใจ
ผมคงต้องเอื้อมมือไปตบไหล่
แล้วปลอบใจมันว่า...

คนเราต่อให้เกิดมาไม่เท่ากัน
แต่เราทุกคนมีเวลา 24 ชั่วโมงเท่ากัน

ดังนั้นคำถาม คือ
ทำไมเราต้องไปสนใจต้นทุนที่ติดตัวมา

เพราะต้นทุนที่แท้จริงนั้น
มันคือ "เวลา" ต่างหาก

เราได้เรียนรู้อะไรจากการใช้ "เวลา"
เราได้ทำอะไรมากกว่าฆ่าเวลาไปวันๆ

บางคนต่อให้ต้นทุนชีวิตดีแค่ไหน
ถ้าไม่ลงทือทำอะไรเลย
ก็ไม่ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จง่ายๆ

แต่ถ้ารู้จักใช้ต้นทุนเวลาให้ดี
ปรุงแต่งชีวิตด้วยความเพียรพยายาม
ความสำเร็จก็คงอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม

เพื่อนของผมส่งยิ้มให้
มันเป็นรอยยิ้มที่เต็มไปด้วยกำลังใจ
...
ในการใช้ชีวิต

-----
(2)
ถ้าเรื่องนี้เป็นบทความเสียดสี
ผมคงต้องหัวเราะหึๆแล้วถามต่อไปว่า

"
เวลา" คนเราเท่ากันจริงหรือวะ?
คนที่ต้นทุนดี เดินทางไปเชียงใหม่
อาจใช้เวลาพอๆกันกับ
คนต้นทุนแย่เดินทางไปแม่กลอง

เมื่อ "ต้นทุนชีวิต" ดี
เราก็ประหยัดเวลาได้ไม่รู้กี่เท่าแล้ว

ความพยายาม คือ ข้ออ้างของคนขี้แพ้
ที่คิดว่าก้มหัวดักดานทำทุกอย่างได้
...
เพื่อความสำเร็จ

แต่ไม่เคย...
ตักน้ำใส่กะโหลกชะโงกดูเงาเลยว่า
เครื่องบินเจ็ทไม่มีวันชะลอให้กับ
จักรยานเฟสสันที่ปั่นอย่างสุดใจ

ดังนั้น...เลิกดักดานโลกสวยโง่ๆ
แล้วกลับไปทำงานทำการทำหน้าที่
ให้ชีวิตตัวเองดีขึ้นกว่านี้ไหม?

และแล้ววันนั้น...
คือจุดยุติความสัมพันธ์ของคนสองคน
...
ที่เรียกว่าเพื่อน

-----
(3)
ถ้าเรื่องนี้เป็นนิยายแฟนตาซี
ผมคงเสกอะไรดีๆมาให้มันใช้
ไปเปลี่ยนแปลงตัวเองภายในพริบตา

เพื่อที่จะทำให้มันประสบความสำเร็จ
และอยู่ในโลกใบนี้อย่างสงบสุขต่อไป
#
จบ

-----
(4)
ถ้าเรื่องนี้เป็นเรื่องตลกร้าย
ผมคงยื่นนาฬิกาในมือให้ดู
แล้วถามมันแกมอดสูว่า

"
โทษนะ เวลาคนเราเท่ากัน
แต่แค่ราคาของนาฬิกาของแต่ละคน
ยังไม่เท่ากันเลยครับคุณ"

อย่าพยายามทำตัวมีค่าขึ้นมา
ทั้งที่ไม่รู้จักมูลค่าที่แท้จริงของตัวเอง
#
อันนี้ก็โหดเกิ้นนนน

-----
(5)
ถ้าเรื่องนี้เป็น "เรื่องจริง"
ผมคงทำได้เพียงแค่ "นิ่ง"
...
แล้วไม่ตอบกลับอะไร

เพราะความคิดของคนเรานั้น
มันมองได้หลายมุมมอง
ตรึกตรองได้หลายชั้น

ผมเชื่อว่า...
มันไม่ได้สำคัญหรอกว่า
คนเราจะมองใครแบบไหน
แต่มันสำคัญกว่าตรงที่ว่า
หลังจาก "มอง" แล้ว
เราเลือกที่จะสะท้อนกลับมา
เปรียบเทียบกับตัวเองอย่างไรต่างหาก

ถ้าเราต้นทุนต่ำ แต่คนอื่นนั้นต้นทุนสูง
มันก็ไม่ใช่ความผิดของเขาหรือของเรา

ถ้าถามว่า...
คนต้นทุนต่ำที่พยายามจนสำเร็จมีไหม
เราก็เห็นตัวอย่างที่ดีหลายคนในโลกนี้

ถ้าถามว่า...
คนต้นทุนสูงที่ชีวิตพินาศพังทลาย
เราก็เห็นตัวอย่างมากมายที่ไม่ไกล

ถ้าถามว่า..
ต้นทุนเกี่ยวอะไรกับการความสำเร็จ
แน่นอนว่ามันก็เป็น SubSet พัวพัน
ที่แยกจากกันไม่ออก

คนที่มีอะไรติดตัวมา
ย่อมไปได้ไกลกว่าคนที่ไม่มีอะไรเลย

แต่สิ่งหนึ่ง
ที่เราควรสนใจมากกว่าต้นทุนก็คือ

"
เป้าหมาย"
ที่เราต้องการไปถึงในชีวิตนี้

ถ้าเป้าหมายสอดคล้องกับต้นทุนที่มี
เราก็ไม่ต้องเหนื่อยจนหัวหมุนเท่าไร

ถ้าเป้าหมายไม่สอดคล้องกับต้นทุน
เราก็คงวุ่นกับการใช้เวลาวิ่งตามมัน

-----

คำว่า "ต้นทุน" ที่ไม่เท่ากัน
...
มันกำลังบอกอะไรเรา

เรากำลังรู้สึกขาดในสิ่งที่เราควรมี
หรือแค่รู้สึกอิจฉาที่คนอื่นเหนือกว่า

เราท้อแท้เหนื่อยหน่ายกับปัญหา
หรือแค่คนที่เหนื่อยล้าที่ไม่มีเป้าหมาย

เรามองเห็นตัวเองเป็นแบบไหน?
นั่นสิ.. เรามองเห็นอะไรจาก "ต้นทุน"

-----

กูอยากให้ลองคิดกลับกันดูนะ
ว่าอะไรคือสิ่งที่เรามี "แต่" คนอื่นไม่มี

เอาแบบที่มึงกล้าพูดเลยว่า
"
เรามีต้นทุนชีวิตที่ดีกว่าเขา"

นี่คือคำถามสุดท้าย...
ที่ผมถามมิตรสหายท่านหนึ่งในวันนั้น

เขาส่งยิ้มให้...
และมันเป็นรอยยิ้มที่ทำให้รู้ว่า

เราทุกคนมีต้นทุนชีวิตที่แตกต่างกัน
...
เสียเหลือเกิน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น